สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดบะโคนปัก บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ
ในอดีตมีกวีเอกของไทยหลายท่าน ได้แต่งนิราศไว้เป็นจำนวนมาก เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่เราพอทราบว่า ท่านผู้ใดได้แต่งนิราศเรื่องใดไว้ แต่มีนิราศบางเรื่อง ก็ยังเป็นที่กังขาอยู่ในหมู่ผู้ศึกษาในด้านนี้ว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้แต่งแน่ เพราะมีข้อมูลบางประการ ที่สันนิษฐานว่า นิราศเรื่องนั้นๆ น่าจะเป็นท่านผู้ใดเป็นผู้แต่งมากกว่า เช่น นิราศพระแทนดงรัง เป็นต้น
วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553
นิราศ
นิราศ หมายถึง งานประพันธ์ประเภทหนึ่ง ที่มีเนื้อหาในเชิงพรรณนาถึงการเดินทางเป็นหลัก ซึ่งมักจะเล่าถึงเส้นทาง ในการเดินทาง และบอกเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นในระหว่างการเดินทาง ซึ่งขณะเดียวกัน ก็มักจะสอดแทรกความคิด และความรู้สึกต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางนั้น โดยที่มักจะเชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นกับความรู้สึกภายใน ของผู้แต่งนิราศ มักจะใช้คำประพันธ์แบบร้อยกรองเป็นหลัก แต่นิราศที่แต่งด้วยร้อยแก้วนั้ก็มีอยู่บ้างเช่นกัน อนึ่ง คำว่า นิราศ ก็มีความหมายตามตัวอักษรว่า จาก พราก ไปจาก ฯลฯ แต่นิราศอาจหมายถึงงานประพันธ์ที่ที่พรรณนาถึงเหตุการณ์ตามลำดับ พร้อมทั้งแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์นั้นๆ ได้โดยมิได้มีการเดินทาง หรือการพลัดพรากก็ได้ วรรณกรรมประเภทนิราศก็มักจะมีความยาวไม่มากนัก พรรณนาถึงสิ่งสวยงาม และความรู้สึกที่ผูกพันที่มีต่อบุคคลที่ตนรัก และเนื่องจากกวีส่วนใหญ่เป็นผุ้าย เนื้อหาในนิราศจึงมักจะพรรณนาถึงหญิงที่ตนรัก และกระทั่งกลายเป็นขนบของการแต่งนิราศมาจวบจนปัจจุบัน ซึ่งที่ผู้แต่งนิราศ ก็มักจะผูกเรื่องราวของการคร่ำครวญถึงหญิงที่รัก ขณะที่เล่าถึงสิ่งต่าง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)